มหาเวสสันดรชาดกนั้นมีสันนิษฐานพบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา
และถือว่าเป็นมหาเวสสันดรชาดกที่แปลแล้วนำมาแต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรกคือ
มหาชาติคำหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระกรุณาโปรดเกล้า
ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยแปลและเรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้โปรดเกล้า ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต
เรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.๒๑๗๐ เรียกว่า
กาพย์มหาชาติ
เนื้อเรื่องย่อ
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร มี ๑๙
พระคาถา
กล่าวถึงพระนางผุสดีจะต้องจุติจากสวรรค์ พระอินทร์จึงประทานพร ๑๐
ประการให้พระนางผุสดี ได้แก่ ๑)ขอให้เกิดในกรุงมัทราช แคว้นสีพี
๒)ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย ๓)ขอให้คิ้วคมขำดังสร้อยคอนกยูง ๔)ขอให้ได้นามตามภพเดิมว่าผุสดี ๕)ขอให้มีพระโอรสที่เกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป ๖)ขอให้พระครรภ์งาม
ไม่ป่องนูนตามสตรีสามัญ
๗)ขอให้มีพระถันเปล่งปลังงดงามไม่ยานคล้อยลง ๘)ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
๙)ขอให้มีผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ ๑๐)ขอให้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ มี ๑๓๔
พระคาถา
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช
และได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพี
ต่อมาได้ประสูติพระเวสสันดร
ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้น ให้มีนามว่าปัจจัยนาค มีคุณวิเศษคือ
ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พระเวสสันดรใฝ่ใจการบริจาคทาน
จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้กับชาวเมืองกลิงคราษฏร์ ซึ่งเป็นเมืองแห้งแล้ง
ข้าวยากหมากแพงมาหลายปี ทำให้ชาวเมืองสีพีโกรธและเรียกร้องให้พระเจ้ากรุง สญชัยทรงลงโทษพระเวสสันดร
พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมือง
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ มี ๒๐๙
พระคาถา
ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และ กัณหาออกจากพระนคร
จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่
ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐
กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ มี ๕๗ พระคาถา
เมื่อเดินทางถึงนครเจตราช
ทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนาศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราช
จึงทูลเสด็จครองเมือง
แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ
และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกต ได้พบศาลาอาศรม
ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์
กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรม
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก มี ๗๙ พระคาถา
มีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานในเมืองต่างๆ
เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว
เมื่อชูชกมา
ทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อ
มาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน
หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา
ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้
เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน มี ๓๕ พระคาถา
พรานเจตบุตรหลงกลชูชก ที่ได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตร
อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร
พรานเจตบุตรจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล มี ๘๐
พระคาถา
เมื่อถึงอาศรมฤๅษี
ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี
ชูชกใช้คารมหลอกล่อจุตฤๅษี
พระฤาษีหลงเชื่อจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร
กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร มี ๑๐๑
พระคาถา
ชูชกเข้าไปขอสองกุมาร พระเวสสันดรพระราชทานให้
สองกุมารรู้ความจึงหนีไปอยู่ในสระบัว พระเวสสันดรตามไปพูดจาให้สองกุมารเข้าใจ
สองกุมารจึงขึ้นจากสระบัว ชูชกพาสองกุมารเดินทางโดย เร่งรีบด้วยเกรงว่า
หากพระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ก่อนจะเสียการ
กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี มี ๙๐ พระคาถา
พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ
เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ
จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัย
ลืมตนว่าเป็นดาบส จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง
เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ มี ๔๓
พระคาถา
พระอินทร์เกรงว่าหากมีใครมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร
ก็จะทำให้พระเวสสันดรบำเพ็ญภาวนาไม่สะดวก ด้วยไม่มีผู้คอยปรนนิบัติ
ดังนั้นพระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าลงมาขอและได้ให้พรแปดประการแก่พระเวสสันดร
รวมทั้งยังฝากฝังพระนางมัทรีไว้ให้อยู่ปรนนิบัติพระเวสสันดรด้วย
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช มี ๖๙
พระคาถา
เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้
เหล่าเทวดาจึงแปลงร่าง
ลงมาปกป้องสองกุมาร
จนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์
ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะ
เดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร
ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ มี ๓๖ พระคาถา
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง
๔ เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี
จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา
ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ
รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน
พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ มี ๔๘
พระคาถา
หกกษัตริย์ยกพลกลับคืนพระนคร พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด
พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง
ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน
พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗
ประการตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง
ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ